ดร.วราภรณ์ แช่มสนิท ที่ปรึกษา แผนงานสุขภาวะผู้หญิง สมาคมเพศวิถีศึกษา
Dr.Varaporn Chamsanit  Advisor, Women’s Wellbeing Program, Sexuality Studies Association


นางสาวกาญจนา ช่วยกูล นักจิตวิทยาชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
Miss Kanjana Chauykun Psychologist, Senior Professional Level, Sawanpracharak Hospital

นางนัชชา ยอดสุวรรณ ผู้อำนวยการ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะม่วง
Mrs. Natcha Yodsuwan    Director, Division of Social Welfare, Pa Mamuang Subdistrict  Administrative Organization

นางสาวศศิธร ถิ่นปรุ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะอาดนามูล
Miss Sasithorn Tinpru Senior Professional Nurse, Sa-at Namun Subdistrict Health Promoting Hospital

นางสาวชุติมน จันทร์สายทอง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตาก
Miss Chutimon Jansaithong Officer, Operation Center for the Prevention of Domestic Violence, Tak Provincial Social Development and Human Security Office

นายศิระ จันทร์เจือมาศ ผู้ประสานงาน แผนงานสุขภาวะผู้หญิง สมาคมเพศวิถีศึกษา
Mr. Sira Chanchuamas Coordinator, Women’s Wellbeing Program, Sexuality Studies  Association

นางสาวจิตติมา ภาณุเตชะ ผู้จัดการ แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและความเป็นธรรมทางเพศ (ผู้ดำเนินรายการ)
Miss Jittima Phanutecha Manager, Women’s Wellbeing Program, Sexuality Studies  Association (Moderator)


ช่องว่างที่สำคัญประการหนึ่งในการประสานงานสหวิชาชีพเพื่อแก้ไขกรณีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ ได้แก่ การขาดช่องทางและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการส่งต่อข้อมูลกรณีปัญหาที่รับแจ้งเหตุและความคืบหน้าในการให้บริการระหว่างหน่วยงานสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ผู้เสียหายอาจต้องให้ข้อมูลที่กระทบกระเทือนจิตใจซ้ำ ๆ เมื่อเข้ารับบริการจากแต่ละหน่วยงาน และอาจทำให้แต่ละหน่วยงานมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการให้บริการไม่ครบถ้วนรอบด้าน และไม่ทราบข้อมูลการให้บริการของหน่วยงานอื่น ทำให้การช่วยเหลือคุ้มครองหรือเยียวยาผู้เสียหายไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ในช่วงปี พ.ศ. 2564-2566 แผนงานสุขภาวะผู้หญิง โดยการสนับส นุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับภาคีผู้ปฏิบัติงานสหวิชาชีพในสามจังหวัดนำร่อง ได้แก่ นครสวรรค์ ตาก และอุดรธานี จัดทำ "แบบบันทึกการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศเพื่อการประสานงานสหวิชาชีพแบบออนไลน์" และทดลองใช้งานโดยทีมสหวิชาชีพในพื้นที่นำร่อง พร้อมรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง และในปี พ.ศ. 2567-2568 แผนงานสุขภาวะผู้หญิงมีแผนที่จะพัฒนายกระดับแบบบันทึกข้อมูลออนไลน์ดังกล่าวให้พร้อมสำหรับการขยายผลสู่หน่วยงานหลัก เพื่อพัฒนาต่อยอดและใช้งานจริงต่อไป

ในการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี ศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข แผนงานสุขภาวะผู้หญิงและตัวแทนทีมสหวิชาชีพจากพื้นที่นำร่องจะร่วมกันนำเสนอและสาธิตขั้นตอนการใช้งาน "แบบบันทึกการจัดการรายกรณีปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศเพื่อการประสานงานสหวิชาชีพแบบออนไลน์" พร้อมบอกเล่าประสบการณ์การใช้งาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและแนวทางการพัฒนาต่อยอดแบบบันทึกออนไลน์ดังกล่าว