ทัศนัย ขันตยาภรณ์

Tussnai Kantayaporn

ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาโครงการของสมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA

จบการศึกษา ปริญญาตรีด้านสาธารณสุขศาสตร์และรัฐศาสตร์ ปริญญาโทด้านการวางแผนภูมิภาคและการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ

มีประสบการณ์ มากกว่า 30 ปี  ในการทำงานด้านเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ อนามัยแม่และเด็ก การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ รวมทั้งการสร้างกระแสขับเคลื่อนการพัฒนาต่างๆ ในไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียน


กรวิณท์ วรสุข

Korawin Worasuk

ปัจจุบัน เป็นผู้เชี่ยวชาญงานสังคมสงเคราะห์  สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ  บ้านพักฉุกเฉิน

จบการศึกษา จบปริญญาโท ด้านสตรีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มีประสบการณ์ ทำงานด้านผู้หญิง และเด็กที่ประสบปัญหาท้องไม่พร้อม และความรุนแรงในครอบครัว มามากกว่า 35 ปี


ศศิธร มูลสิงห์

Sasithorn Mulsingh

ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการ 

  • หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ 

  • การศึกษาปริญญาตรีสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

  • รับผิดชอบงานศูนย์พึ่งได้ (OSCC) โรงพยาบาลสมุทรปราการ ช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง และหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 

  • ประสบการณ์ด้านสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ 25 ปี ช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางและครอบครัว


นางบุญพลอย ตุลาพันธุ์  

Bunpoy Tulaphan

  • ปัจจุบันเป็น ข้าราชการบำนาญ 

  • จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง  ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพัฒนาสังคม) 

  • เคยปฏิบัติงาน ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ต่อมาได้โอนมาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จนเกษียนอายุราชการ ขณะปฏิบัติงานที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการพัฒนางาน ศูนย์พึ่งได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนเกษียนอายุราชการ โดยมีประสบการณ์ในการพัฒนางานศูนย์พึ่งได้ ประมาณ 16 ปี


ปาริษา ด้วงทอง

Parisa Duangtong

ปัจจุบัน 

  • ดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์  โรงพยาบาลตรัง

  • การศึกษา : ปริญญาตรี  คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  สาขาวิชาโท การพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  สาขา การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ประสบการณ์ : นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ 14  ปี  รับผิดชอบ ระบบงานศูนย์พึ่งได้  การให้บริการช่วยเหลือ เด็ก  สตรี และบุคคลในครอบครัวที่ประสบปัญหาความรุนแรง  เป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและส่งต่อตามทางเลือก  พิทักษ์สิทธิ์ให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการตามสิทธิอันพึงมีพึงได้อย่างเท่าเทียม ส่งเสริมให้เกิดบริการที่เป็นธรรมในผู้ที่เผชิญกับวิกฤตสุขภาพทางสังคม  ขับเคลื่อนการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล สำนักงานปลัดประทรวงสาธารณสุข 

  • วิทยากร หลักสูตร การให้การปรึกษาทางเลือกหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม  ตาม ม.305(5)  กรมอนามัย

  • ผู้รับผิดชอบหลักสูตร การให้การปรึกษาเด็กและหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม และวิทยากร สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์


     

นายแพทย์พรเพชร ปัญจปิยะกุล
นักวิชาการอิสระ


นางวรภัทร แสงแก้ว

 


16 ปี ศูนย์พึ่งได้ บนเส้นทางการปรึกษาดูแลท้องไม่พร้อม

ความรุนแรงในสังคมไทยที่พบมากคือความรุนแรงทางเพศ ทั้งในกลุ่มเด็ก เยาวชน และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิง-ชายได้นำมาสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมพร้อมใจ หรือขู่บังคับ การขาดคุมกำเนิด รวมทั้งการที่ถูกทอดทิ้งหลังจากตั้งครรภ์ ทำให้เกิดปัญหาการท้องไม่พร้อมตามมา ตั้งแต่ปี 2550 กองบริหารการสาธารณสุข ร่วมกับเครือข่ายท้องไม่พร้อมฯ ได้ร่วมกันพัฒนาการปรึกษาทางเลือกเพื่อเสริมพลังผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมให้ไตร่ตรองทางออกที่สอดคล้องกับชีวิตตนเอง โดยนำร่องพัฒนาในโรงพยาบาลสมุทรปราการและขยายไปยังโรงพยาบาลอีก 5 แห่ง ต่อมาได้จัดทำเป็น “คู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้” ในปี 2557 เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการให้บริการที่ศูนย์พึ่งได้ทั่วประเทศไทย

การเปิดบริการปรึกษาทางเลือกที่ศูนย์พึ่งได้ ได้นำมาสู่การทำความเข้าใจต่อสภาพปัญหาที่แท้จริงของผู้หญิงที่ประสบปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมอย่างรอบด้าน ต่อมาได้มีความร่วมมือกับเครือข่ายอาสา RSA (Referral System for Safe Abortion) เพื่อส่งต่อทางเลือกไม่ตั้งครรภ์ต่อเพื่อรับบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย การเข้าใจสภาพปัญหาชัดเจนขึ้นนี้เองได้นำมาสู่การปรับแก้กฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้งในปี พ.ศ. 2563 ที่ “การปรึกษาทางเลือก” เป็นส่วนหนึ่งในข้อกฎหมายอาญา นอกจากนี้ การปรึกษาทางเลือกท้องไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้ ก็ยังเป็นต้นแบบในการอบรมผู้ให้การปรึกษาทางเลือกตามกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้งมาตรา 305(5) ที่ให้หญิงท้องไม่พร้อมที่อายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์ต้องผ่านการปรึกษาทางเลือกเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือทางสุขภาพและสังคมให้สอดคล้องกับทางเลือกและสภาพปัญหา เพื่อส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพในบริบทที่ผู้หญิงมีความพร้อมอย่างแท้จริง