รศ. อภิญญา เวชยชัย

ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

ตำแหน่งงานประจำ ข้าราชการบำนาญ รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การศึกษา

  • ครุศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2521)
  • สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527)
  • การศึกษาเรื่อง Case Management ในโครงการ Council of International Program ณ San Diego State University, เมืองซานดิเอโก ประเทศสหรัฐอเมริกา และการฝึกภาคปฏิบัติในองค์การ San Diego Youth and Community Services (มกราคม-พฤษภาคม 2550)
  • การอบรม Social Work Treatment with Children Course จัดโดยองค์การ UNICEF และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (May 20-24 2008)

ประวัติการทำงานและผลงาน (อดีต)
       (1)นักสังคมสงเคราะห์ กองโรงพยาบาลภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
2527–2530
       (2)นักสังคมสงเคราะห์ กลุ่มงานวิจัย กองวิชาการ กรมประชาสงเคราะห์ 2531–2534
       (3)บรรณาธิการบริหาร นิตยสารรักลูก และนิตยสาร Life & Family
บริษัท แปลน พับลิชชิ่ง จำกัด 2534–2541
       (4)คณบดี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2547-2549)
       (5)ประธานคณะกรรมการการศึกษาปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
2550 – 2552
       (6)ประธานคณะกรรมการการศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
2552 – 2555

ปัจจุบัน

(1)ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558 - ปัจจุบัน
(2)กรรมการประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558 - ปัจจุบัน

ผลงานวิชาการ (จากปี 2557-2542)

1. หัวหน้าโครงการวิจัยปฏิบัติการ. โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและปรับกระบวนทัศน์ของสังคมต่อผู้ต้องขังหญิง. งานวิจัยภายใต้โครงการก าลังใจในพระด าริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. สนับสนุนโดยกระทรวงยุติธรรม.2557
2. หัวหน้าโครงการวิจัยปฏิบัติการ . ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สสส.,โครงการ คืนชีวิตให้ชีวิต(กลุ่มผู้ต้องขังหญิงในเรือนจ าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา).
สนับสนุนโดยส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2557
3. ผู้เขียน ประมวลการสอนชุดวิชา สวัสดิการสังคมและการบริการส าหรับครอบครัว หน่วยที่ 8 ครอบครัวที่มีความต้องการพิเศษ และ หน่วยที่ 9 ครอบครัวที่เผชิญภาวะวิกฤต .เอกสารประกอบการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555-2556
4. หัวหน้าโครงการวิจัยและนักวิจัยร่วม. 12 พื้นที่ร่วมสืบสานพระปณิธาน. งานวิจัยภายใต้โครงการกำลังใจในพระด าริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. สนับสนุนโดยกระทรวงยุติธรรม. 2556
5. การเขียนต าราเรื่อง การเสริมพลังอ านาจในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555
6. นักวิจัยและหัวหน้าโครงการวิจัย. การศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง : กระบวนการสร้างเสริม “กำลังใจ” และความเป็นมนุษย์ ในกระบวนการยุติธรรม. งานวิจัยภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา. สนับสนุนโดยกระทรวงยุติธรรม.2554
7. หัวหน้าโครงการ การถอดบทเรียนการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ด้านการทำงานกับเด็กร่วมกับมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก และสหทัยมูลนิธิ ได้รับความสนับสนุนจาก Loyola University Chicago, School of Social Work and Professor Ian Williamson, LCSW, Adjunct, School of Social Work Virginia Commonwealth University และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNICEF) 2552-2553
8. หัวหน้าโครงการ การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและเยาวชน ในศูนย์ฝึกอบรม สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน,โดยความสนับสนุนของ โครงการส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองสุขภาพและสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.), 2553

9. Apinya Wechayachai & Anyamanie Buranakanon, นักวิจัยร่วม , Research Action Research Studies on Community Ownership and External Intervention for Sustainability of Community Learning Centers, เสนอต่อ องค์การ UNESCO , ปี 2008
10. หัวหน้าโครงการ ”การศึกษาความคุ้มครองเด็กภายใต้การปฏิบัติงานสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับที่ 20 พ.ศ.2542” โดยความสนับสนุนของคณะอนุกรรมการเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
11. หัวหน้าโครงการศึกษาสถานการณ์และกลไกการเฝ้าระวังและคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนในกระบวนการยุติธรรม โดยความสนับสนุนของคณะอนุกรรมการเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
12. นักวิจัยร่วม การศึกษาวิจัยเรื่อง The Research Study on Community Learning Centers :Experiences from Thailand, เสนอต่อ การประชุมของ องค์การ UNESCO ระดับภูมิภาค ณ เมืองเซียงไฮ้ ประเทศจีน ปี2005
13. หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การติดตามประเมินผลกองทุนสวัสดิการผู้น าขบวนการองค์กรชุมชน ภายใต้ความสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
14. หัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การติดตามประเมินผลโครงการเขียนเรียงความสาหรับเด็กและเยาวชนเพื่อขอรับทุนการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลโดยความสนับสนุนของกระทรวงศึกษาธิการ
15. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในสังคมไทย โดยความสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) 2546
16. การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบท โดยความสนับสนุนของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2546 (ผู้ศึกษาร่วมในคณะทางานของสถาบันวิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์)
17. การศึกษาวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาโครงการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสาหรับผู้สูงอายุ โดยความสนับสนุนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศึกษาร่วม) 2546
18. การศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการจัดทาแผนและคู่มือปฏิบัติงานช่วยเหลือและคุ้มครองเด็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรุงเทพมหานคร โดยความสนับสนุนขององค์การยูนิเซฟ เสนอต่อ สานักงานสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร (ศึกษาร่วม) 2546
19. รายงาน การศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของครอบครัวไทยและข้อเสนอต่อนโยบายการพัฒนาสถาบันครอบครัว เอกสารวิชาการประกอบการเรียนการสอนวิชาโท การพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว หลักสูตรปริญญาตรี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มีนาคม 2546
20. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินระบบสวัสดิการสังคมสาหรับเด็กและสตรีที่ได้รับความรุนแรง โดยความสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พ.ศ.2546
21. ผู้เขียนตารา ประมวลการสอนชุดวิชา สวัสดิการครอบครัวและสังคม หน่วยที่ 8 การจัดสวัสดิการด้านการศึกษา เอกสารประกอบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545
22. รายงานการวิจัยเรื่อง การติดตามและประเมินโครงการสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน โดยความสนับสนุนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ศึกษาร่วม,ปี 2545
23. รายงานการศึกษาวิจัย การพัฒนาระบบสวัสดิการสาหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย โดย รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ หัวหน้าโครงการ ในความสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) 2543-2546 (นักวิจัยหลักศึกษากรณีกลุ่มคนจนนอกวัยทางานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหาทางสังคม-ศึกษาร่วม)
24. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนโดยชุมชน : กรณีศึกษาเครือข่ายหัตถกรรมและพัฒนาสตรีภาคอีสาน (กลุ่มแม่หญิง) ในความสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตีพิมพ์ใน วารสารเศรษฐศาสตร์และการเมือง, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,กรกฎาคม 2544
25. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาการศึกษา ในความสนับสนุนของ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.),กันยายน 2543 พิมพ์เผยแพร่โดย สกศ. ปี 2544
26. รายงานการศึกษาวิจัย การวิเคราะห์สถานการณ์แรงงานเด็กในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในความสนับสนุนขององค์การยูนิเซฟและ ILO – IPEC ,2543 (ศึกษาร่วม)
27. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง งานสวัสดิการสังคมสาหรับครอบครัวด้อยโอกาส ในความสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.),กุมภาพันธ์ 254328. รายงานการประเมินผล โครงการความร่วมมือด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเยาวชนสตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ ของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในความสนับสนุนขององค์การยูนิเซฟ ปี 2542 (ศึกษาร่วม)
29. รายงานการศึกษาวิจัย การศึกษาโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุและครอบครัวในชุมชน “โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ในความสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.),พฤศจิกายน 2542

การเป็นวิทยากรและศึกษาดูงาน

(1) วิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ จัดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานองค์กร Association Francois Xavier Bagnoud-AFXB ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า เป็นเวลา 3 ครั้ง ๆ ละ 7 วัน ปี 2543-2544
(2) การศึกษาดูงานด้านการศึกษาสังคมสงเคราะห์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นเวลา 4 วัน
(3) การศึกษาดูงานด้านระบบสวัสดิการสังคมและองค์การด้านสวัสดิการสังคมภาครัฐและภาคเอกชน ในโครงการวิจัยการพัฒนาระบบสวัสดิการสาหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคม โดยความสนับสนุนของ สกว. ณ ประเทศเยอรมันนี ประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ เป็นเวลา 14 วัน(19 พฤษภาคม –1 มิถุนายน 2546)
(4) วิทยากรและการศึกษาดูงานในการประชุมปฏิบัติการ แก่นักสังคมสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานชุมชนและผู้บริหารใน Social Protection Center สังกัด กระทรวงแรงงาน (MOLISA) กรุงฮานอย ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วันที่ 13 เมษายน 24 เมษายน 2547
(5) การศึกษาดูงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุ ณ มหาวิทยาลัยโอกินาวา (Okinawa International University) ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 12-15 สิงหาคม 2547
(6) การเสนองานวิชาการและศึกษาดูงานเรื่อง Tsunami Situation and Social Service in Thailand. ในการประชุม 18th Asia-Pacific Social Work Conference. ณ กรุงโซน ประเทศ เกาหลีใต้, 21 24 กันยายน 2548.
(7) การเสนองานวิชาการและศึกษาดูงาน The Research Study on Community Learning Centers Experience from Thailand. International Seminar on Community Learning Centers (CLCs), Hangzhou and Shanghai, 27-31 October 2005 จัดโดยองค์การ UNESCO .
(8) การเสนองานวิชาการและการศึกษาดูงานในการประชุม เรื่อง Disaster Planning , Management and Responsibilities for Social Work Response Conference ( 8-12 พฤษภาคม 2009) ณ เมือง Sichuan สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดโดย China Association of Social work Education, China Journal of Social Work, Council on Social Work Association-Katherine A. Kendall Institute, USA., International Association of School of Social Work (IASSW), and Joint Poly U – Peking U China Social Work Research Centre of the Department Applied Social Science, The Hong Kong Polytechnic University.

(9) การประชุมนักสังคมสงเคราะห์โลก เรื่อง Social Work and Social Development : The Agenda ณ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง จัดโดย APASWE และ IFSW (10 14 มิถุนายน 2553)

(10) การอบรมและศึกษาดูงาน “การบริหารจัดการงานจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคม” ณ มูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน จัดโดยสานักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (11 17 ตุลาคม 2553)


รศ. ดร. วิไลภรณ์ โคตรบึงแก 

ตําแหน่งปัจจุบัน

  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ประจําคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นักสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต

ตําแหน่งปัจจุบัน - องค์กรวิชาชีพ

  • นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและการศึกษาต่อเนื่อง สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
  • Commissioner of International Federation of Social Workers-Asia and Pacific (IFSW-AP) to United Nations

ประวัติการศึกษา

  • Ph.D (Rehabilitation Counselor Education), Michigan State University, U.S.A, 2552
  • M.S. (Rehabilitation Psychology), University of Wisconsin-Madison, U.S.A, 2549
  • สังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (สส.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ1) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544

รางวัล/ทุนที่เคยได้รับ

 

  • ผู้รับทุน Hubert H. Humphrey โดยมูลนิธิฟุลไบร์ท (Fulbright Foundation) สาขา Educational Administration, Planning, and Policy ณ Vanderbilt University ประเทศสหรัฐอเมริกา (สิงหาคม 2022 - มิถุนายน 2023)
  • รางวัลนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น ประเภทวิชาชีพ ประจำปี 2563 จากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์
  • โล่เชิดชูเกียรตินักวิจัยที่ได้รับทุนการวิจัยขนาดใหญ่จากแหล่งทุนภายนอก เนื่องในโอกาสการสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ครบรอบ 66 ปี ในวันที่ 25 มกราคม 2563
  • รางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2556 สำหรับผู้ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณทางด้านการวิจัยจากหน่วยงานภายนอก
  • รางวัลผลงานวิชาการดีเด่น (ประเภทนักวิชาการ) งานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2556 มอบโดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติและสถาบันเครือข่าย
  • ทุนรัฐบาล (ก.พ.) ประเภทบุคคลทั่วไป เพื่อศึกษาต่อระดับปริญญา โท-เอก สาขาการให้คำปรึกษาด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา, 2547-2552
  • รางวัลเรียนดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544

ประสบการณ์การทำงาน

2554 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2553 - 2554    นักพัฒนาสังคม สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2552              ผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) วิชา CEP 470 Disability in a Diverse Society (ระดับปริญญาตรี) (Fall 2009) Michigan State University
2551              ผู้ช่วยวิจัย (Research Assistant) โครงการสำรวจหลังสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตสาขา M.S. in Rehabilitation Counseling (Summer 2008)
2551              ผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) วิชา CEP 870 Foundation in Rehabilitation Counseling (ระดับปริญญาโท) (Fall 2008) Michigan State University
2545              นักสังคมสงเคราะห์ (ลูกจ้างชั่วคราว) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข

ผลงานที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การจัดทำมาตรฐานทางวิชาชีพ

  • คณะทำงานจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯและนักสังคมสงเคราะห์ ที่ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นงคงของมนุษย์
  • คณะอนุกรรมการจัดทำร่างข้อบังคับจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์และจัดทำร่างมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
  • คณะทำงานวิเคราะห์มาตรฐานกำหนดตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
  • คณะกรรมการตรวจประเมินมาตรฐานการจัดสวัสดิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นงคงของมนุษย์
  • คณะทำงานจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (มคอ.1) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสมาคมสภาการศึกษาสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมไทย

นางซารีนา เจ๊ะเลาะ

ตำแหน่ง ประธานชมรมมุสลีมะห์นราธิวาส

สถานที่ทำงาน สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส

วันเดือนปีเกิด 24 กันยายน 2512

ที่อยู่ 201/4 หมู่ที่ 2 ตำบล ตะปอเยาะ อำเภอ ยี่งอ จังหวัด นราธิวาส 96180

การศึกษา

  • ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านบูเกะบากง
  • มัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 โรงเรียนอัตตัรกียะห์อิสลามียะห์
  • มัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 4-6 การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอยี่งอ
  • ปริญญาตรี University of interdisciplinary studies texas.USA

พ.ศ 2556 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรผู้ประกอบการสังคมกลุ่มวิชาการวิเคราะห์ชุมชนและต้นทุนทางสังคม

พ.ศ 2556 มหาวิชยชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นสำเร็จการศึกษาหลักสูตรผู้ประกอบการสังคมกลุ่มวิชาความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการสังคม

การฝึกอบรม

  • พ.ศ 2548  เรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์โครงการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP นราธิวาสตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนราธิวาส
  • พ.ศ 2548 ผ่านการอบรมวิชาการปักผ้าแบบจีนโครงการสื่อสารวิชาชีพ 2 แผ่นดินไทยจีนในงาน 30 ปีศาลใส่ใยมิตรภาพสตรีไทยจีน
  • พ.ศ 2548 ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องการแปรรูปอาหารและผลไม้ท้องถิ่นองค์กรจดทะเบียน
  • พ.ศ 2551 ได้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรยกระดับฝีมือแรงงานสาขาช่างประจักษ์ พ.ศ 2553
  • พ.ศ 2553 อบรมโครงการเสริมสร้างพลังความรู้สู่สตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้รุ่นที่ 2
  • พ.ศ 2558 ได้เข้าร่วมโครงการรข้าราชการมุสลิมะห์สัมพันธ์ครั้งที่ 1 ในหัวข้อบทบาทข้าราชการมุสลิมะกับการสร้างดุลยภาพในสังคมยุคใหม่
  • พ.ศ 2558 ได้คัดเลือกเป็นผู้นำสตรีเครือข่ายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2558 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ(สตรีมุสลิม)ต้นแบบ
  • พ.ศ 2559 ผ่านการอบรมหลักสูตร,มุสลิมะห์ต้นแบบ รุ่นที่ 2 โรงเรียนผู้นำสุภาวะมุสลิมไทย
  • พ.ศ 2561 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการให้การปรึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้หญิงและการจัดการรายกรณีรุ่นที่ 1 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป
  • พ.ศ 2561 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพมุสลิมะห์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2561
  •  พ.ศ 2561 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเพื่อเสริมสร้างศักยภาพแก่ผู้หญิงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • พ.ศ 2564 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและภาคี เรื่องการจัดการ เคสศูนย์ประสานงานด้านเด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศ ป.ดศ)
  • พ.ศ 2556 อบรมหลักสูตร gender ในบริบทชายแดนใต้แก่วิทยากรกระบวนการเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและสตรี
  • พ.ศ 2565 เชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้นำวิทยากรด้านเด็กเยาวชนและสตรี

หน้าที่การงาน / อาชีพ (อดีต/ปัจจุบัน)

  • ปี 2547 ได้ร่วมกลุ่มสตรีในชุมชนมีชื่อกลุ่มสตรีปักจักรบ้านบูเกะบากงมาทำอาชีพปักผ้า
  • ปี 2553 ได้ร่วมกลุ่มจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ชื่อชมรมผู้นำมุสลิมนราธิวาส เป็นประธานชมรม

รางวัลที่เคยได้รับ (ระบุปีที่ได้รับ)

  • รางวัล การคัดเลือกเป็นผู้นำสตรีดีเด่น มอบให้โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
  • รางวัล สตรีที่มีผลงานผลงานดีเด่นของจังหวัดนราธิวาส มอบให้โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

ผลงานดีเด่น

ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ (บทบาทการดำเนินงานด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ การคุ้มครองสิทธิสตรี หรือด้านการพัฒนาศักยภาพสตรี) เป็นผลงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและยังดำเนินการจนถึงปัจจุบันโดยสังเขป

  • วันที่ 24-28 มีนาคม 2565 ได้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติติการการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้นำวิทยากรด้านเด็กเยาวชนด้านเด็กเยาวชนและสตรี (TOT Training)
  •  วันที่29-30 ตุลาคม 2565 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี ได้ผ่านการอบรมหลักสูตร Gender ในบริบทชายแดนใต้ แก่วิทยากรกระบวนการเพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและสตรี

ที่ได้รับการยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อสังคม (เป็นผลงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีและยังดำเนินการจนถึงปัจจุบัน )

  • ปี 2559 ได้จัดตั้งศูนย์บริการให้คำปรึกษาเสริมพลังสตรีจังหวัดนราธิวาสและขยายไปสู่ชุมชนรวมทั้งสิ้น 20 ศูนย์ ครอบคลุมทั้ง 13 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส

บุคคล/หน่วยงานอ้างอิงในการรับรองผลงาน (กรุณาให้ชื่อ ที่อยู่ที่สามรถติดต่อได้)

  • สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส

นางณัฐวดี ณ มโนรม

ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

ที่อยู่ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ตึกอานันทมหิดล ชั้น 8 เลขที่ 2 ถ.วังหลัง เขตบางกอกน้อย แขวงศิริราช กทม. 10700

ประวัติการศึกษา:

  • ปี 2527 จบการศึกษา ปริญญาตรี สังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปี 2535 จบการศึกษา ปริญญาโท สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการทางาน:

ปี 2528-2566 นักสังคมสงเคราะห์ สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ:

ขณะนี้ดารงตาแหน่ง ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สังกัดภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสบการณ์อบรมเพิ่มเติม:

  • Sexual Abuse and Exploitation of Children : a health and criminal Justice perspective
  • Thailand and Child witness Training Course
  • Multi – Disciplinary Child Protection Training Course
  • Case management

ประสบการณ์อื่นๆ:

  • อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Sandiego state university, The Copenhagen National Institute
  • วิทยากรอบรมให้กับภาครัฐและภาคเอกชน เช่น จิตวิทยาเด็ก การทางานร่วมกับเด็ก การทางานเป็นทีมสหวิชาชีพ
  • กรรมการชมรมนักนิยมธรรมชาติ
  • นายกสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
  • อุปนายกคนที่ 1 สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
  • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร
  • คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ
  • คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรการกลไกเพื่อการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
  • วิทยากรและคณะอนุกรรมการการประเมินพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
  • วิทยากรและคณะอนุกรรมการการประเมินพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พรบ.ผู้ถูกกระทาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
  • วิทยากรอบรมนักสังคมสงเคราะห์/นักจิตวิทยา ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (สืบพยานเด็ก)

 


บทเรียนการส่งเสริมกำลังคนผู้ให้บริการทางสังคมระดับชุมชนเพื่อตอบสนองต่อประเด็นความรุนแรงในครอบครัว
ที่ไม่ได้รับการรายงานและการเข้าถึงบริการทางสังคมที่จำกัด 

Lessons Learned in Promoting Community-Based Social Service Workforce in Response to Underreported Domestic Violence and Limited Access to Services

ภายหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีการดำเนินมาตรการหลายประการในการพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ โดยเฉพาะมาตรฐานตำแหน่งงาน แนวปฏิบัติทางวิชาชีพ และการบังคับใช้จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ รวมทั้ง การส่งเสริมการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ อย่างไรก็ตาม แม้จะการริเริ่มเหล่านี้ นักสังคมสงเคราะห์ยังคงมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งความขาดแคลนนี้เป็นอุปสรรคต่อการตอบสนองต่อความท้าทายทางสังคมที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันและต่อความต้องการผู้ปฏิบัติงานที่มีสมรรถนะที่เหมาะสมในระบบบริการทางสังคม

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้ และส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ความขาดแคลนนักวิชาชีพส่งผลให้กลุ่มเปราะบางชายขอบไม่สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมได้อย่างเหมาะสม

เชื่อมโยงกับความท้าทายที่กล่าวไว้ข้างต้นและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 16 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม การเข้าถึงความยุติธรรม และการสร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ การนำเสนอนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาในการพัฒนาความร่วมมือกับหลายองค์กรในการเพิ่มขีดความสามารถของอาสาสมัครสตรีมุสลิมในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวต่อสตรีและเด็กในสามจังหวัดภาคใต้ซึ่งจำนวนที่ถูกรายงานมักไม่สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน ซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนี้มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่มีความเฉพาะ ผ่านการเสริมความรู้และทักษะที่จำเป็น เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การประเมินทางจิตสังคม การจัดการกรณีและการให้คำปรึกษา เพื่อให้อาสาสมัครชุมชนเหล่านี้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในการ

เข้าถึงปัญหาภายในชุมชนของตนได้ทันท่วงที สามารถให้การแทรกแซงพื้นฐานที่จำเป็น และส่งต่อไปยังระบบบริการและสวัสดิการสังคมที่เป็นทางการอย่างเหมาะสม จากโครงการพัฒนาศักยภาพ นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศักยภาพสตรีและให้คำปรึกษาจำนวน 3 แห่ง ตั้งอยู่ที่สำนักงานสภาอิสลามจังหวัด โดยมีการขยายศูนย์ให้การปรึกษาระดับชุมชนครอบคลุม 24 แห่ง ทั่วจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อให้มั่นใจว่าประชากรกลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงการสนับสนุนและความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน 

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย มุ่งเน้นการทำงานด้วยแนวทางคู่ขนานทั้งการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ให้บริการสังคมกลุ่มอื่น เช่น อาสาสมัครในการทำงานอย่างเป็นพันธมิตรเพื่อป้องกันไม่ให้ใครก็ตามถูกทิ้งไว้ข้างหลังโดยสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่จำเป็นได้อย่างเหมาะสม