แพทย์หญิง จุฬาพันธุ์ เหมกูล
ผอ.อารีภักษ์ เงินบำรุง
ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
คุณวุฒิการศึกษา
- ระดับปริญญาตรีนิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาการโฆษณามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ.2530
- ระดับปริญญาโทนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ.2540
คุณวุฒิพิเศษ/การศึกษาอบรมเพิ่มเติม
- หลักสูตรนักบริหารระดับสูงรุ่น 96 สำนักงาน ก.พ.
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 63 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูงสถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมสำนักงานกิจการยุติธรรม
- หลักสูตรวิทยาลัยการทัพบกรุ่นที่ 58 วิทยาลัยการทัพบก
- หลักสูตรนักบริหารงานประชาสัมพันธ์กรมประชาสัมพันธ์
- หลักสูตรนักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่กรมประชาสัมพันธ์
ประวัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก(ป.ช.)
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย(ป.ม.)
- เหรียญจักรพรรดิมาลัย(ร.จ.พ.)
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก(ท.ช.)
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย(ท.ม.)
- ตริตาภรณ์ช้างเผือก(ต.ช.)
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย(ต.ม.)
ประวัติการดำรงตำแหน่งที่สำคัญ
ปี 2562 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
ปี 2560 - 2562 ผู้เชียวชาญด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดสำนักงานปปส.ภาค๒
ปี 2559 - 2560 ผู้อำนวยการส่วนประสานพื้นที่สำนักงานปปส.ภาค๒
ปี 2558 - 2559 ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการผู้บริหารสำนักงานเลขานุการกรม
ปี 2554 - 2558 ผู้อำนวยการส่วนประสานพื้นที่สำนักงานปปส.ภาค๒
ปี 2551 - 2554 ผู้อำนวยการส่วนสื่อสารองค์กรสำนักงานเลขานุการกรม
ผลงานที่สำคัญ
อนุกรรมการในอ.ก.พ.สำนักงานป.ป.ส.
ประวัติผลงานที่ได้รับการยกย่อง
สนับสนุนงานราชการของกระทรวงยุติธรรมและได้รับการประดับเข็มเครื่องหมายยุติธรรมธำรง ประจำปีพ.ศ.2565
ผอ.พรสวรรค์ วรวิศัลย์กุล
ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
นายแพทย์จักราวุธ จุฑาสงฆ์
ตำแหน่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
ประวัติการศึกษา ระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ระดับปริญญาโท สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
ประวัติการทำงาน
ปี 2560 ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
ปี 2562 ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
ปี 2563 ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี
ปี 2564 – ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์
ดร.ภูวิชชชญา เหลืองธีรกุล (เฟย)
ตำแหน่ง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
วัน เดือน ปีเกิด 14 ธันวาคม 2524
สถานที่ทำงานปัจจุบัน สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 10 สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด
การศึกษา
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ - นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 59
- ประกาศนียบัตรอบรมวิชาชีพชั้นสูง (ทรัพย์สินทางปัญญา) สภาทนายความ
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรไทยกับประชาคมอาเซียนในเศรษฐกิจ การเมืองโลก รุ่นที่ 10 สถาบันพระปกเกล้า
- ประกาศนียบัตรหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการอนุวัติมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม
ประสบการณ์ทำงาน
พนักงานอัยการ
พ.ศ. 2554-2556 พนักงานอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
พ.ศ. 2556-2557 พนักงานอัยการประจำสำนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง
พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน พนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 10
วิทยากร
พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน วิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติด ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด การขยายผลคดียาเสพติด การดำเนินคดีในความผิดฐานฟอกเงินที่มีมูลฐานจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้กับพนักงานอัยการ ข้าราชการสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ส.
อาจารย์
พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
ด้านอื่นๆ
พ.ศ. 2566
- คณะอนุกรรมการจัดทำคำอธิบายประมวลกฎหมายยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- ผู้ชำนาญการด้านความมั่นคง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
- ที่ปรึกษากองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด
นายแพทย์บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์
ตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต
Present Position
-
อาจารย์ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน หลักสูตรจิตเวชชุมชน
-
ที่ปรึกษา คณะกรรมการ SERVICE PLAN สาขาสุขภาพจิตและสารเสพติด กระทรวงสาธารณสุข
-
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต
- ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักความรอบรู้ กรมสุขภาพจิต
- กรรมการคณะกรรมการอำนวยการศูนย์บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency operation center) กรมสุขภาพจิต และประธานคณะทำงานสื่อสารความเสี่ยง (Risk communication)
- คณะทำงานสนับสนุนทีมโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
สถานที่ทำงาน
ที่ตั้ง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
ประสบการณ์การทำงาน
-
จบการศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ จากศิริราชพยาบาล ปี พ.ศ. 2540
-
ได้รับวุฒิบัตรจิตเวชศาสตร์ จากรามาธิบดี ปี พ.ศ. 2544
-
ได้รับประกาศนียบัตรฝึกอบรม เรื่องสุขภาพจิตกับภัยพิบัติ จากCenter for disaster study University of Western Sydney, Australia ปี พ.ศ. 2551
-
ได้รับประกาศนียบัตร Mini MBA จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปี พ.ศ. 2553
-
ได้รับประกาศนียบัตรฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจราชการกรม จากสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2560
-
ได้รับประกาศนียบัตรฝึกอบรมนักบริหารระดับสูง :ผู้นำวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1) จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ. 2561
-
อดีตหัวหน้ากลุ่มจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชน โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
-
อดีตผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
-
ผู้ร่วมพัฒนาทีมเยียวยาวิกฤตสุขภาพจิต (MCATT) และระบบดูแลวิกฤตสุขภาพจิต มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในเหตุการณ์ระดับประเทศ ได้แก่ เหตุการณ์สึนามิ มหาอุทกภัย วิกฤตการเมือง เหตุการณ์ไซโคลนนาร์กีส ประเทศสหภาพพม่า
-
เลขาคณะกรรมการขับเคลื่อนการเข้าถึงระบบบริการจิตเวช กรมสุขภาพจิต
-
คณะทำงานการขับเคลื่อนระบบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคจิตเวช
-
นักวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้และโปรแกรมในด้าน สุขภาพจิตและจิตเวชชุมชน และ วิกฤตสุขภาพจิต ปัญหาจิตเวชและยาเสพติด
ผลงานงานวิจัย
-
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล (Risk Factors for Anxiety Disorder) นำเสนอที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2546
-
การติดตามผลลัพธ์ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทต่อเนื่อง เขตกรุงเทพมหานคร ได้รับการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2549
-
ความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตของ Kessler 6 ข้อฉบับภาษาไทยเพื่อคัดกรองการป่วยทางจิตในผู้ประสบภัยพิบัติจากสถานการณ์ไม่สงบชายแดนใต้ ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557
-
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและจิตเวชในเขตสุขภาพของประเทศไทย ตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2557
-
วิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายสําหรับกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาพฤติกรรมการฆ่าตัวตายใน 25 จังหวัด 4 ภาค ของประเทศไทยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสํานักงานการวิจัยแห่งชาติประจําปี พ.ศ. 2564
-
Development of Community Mental Health Infrastructure in Thailand: From the Past to the COVID-19 Pandemic ตีพิมพ์ในวารสาร Consortium Psychiatricum ฉบับที่ 3 ปี พ.ศ 2564
-
ประสิทธิผลของระบบการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 วิถีใหม่ ตีพิมพ์ใน ศรีนครินทร์เวชสาร ฉบับที่ 6 ปีที่ 37 (ปี พ.ศ. 2565)
ผลงานสื่อ คู่มือการสอน
-
คู่มือและหลักสูตรเพื่อเข้าถึงบริการผู้ป่วยโรคจิตเภท กรมสุขภาพจิต
-
คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานในสถานการณ์วิกฤติสุขภาพจิต สำหรับทีมสุขภาพจิต
-
คู่มือการอบรมวิทยากรและผู้ปฏิบัติงาน สำหรับการเข้าถึงบริการโรคจิต
-
หลักสูตรคู่มือการเยียวยาจิตใจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบภายหลังความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
-
หลักสูตรคู่มือการเยียวยาจิตใจ ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบภายหลังความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
-
Care map for suicide prevention
-
คู่มือแนวทางการจัดบริการหอผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดในโรงพยาบาลระดับศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ของกรมสุขภาพจิต
-
ร่วมพัฒนา คู่มือ V-care แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง
-
ร่วมพัฒนา E-learning การดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง สำนักงานเลขานุการบำบัดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข
รางวัล/ประกาศเกียรติคุณ/อื่น ๆ
-
ประกาศนียบัตรผ่านหลักสูตรหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สำหรับนักศึกษา/นักวิจัยจากสำนักการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ.2562 (ON-LINE RESEARCH ETHICS TRAINING)
-
ได้รับรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2566 ประเภทประสิทธิภาพผลเครือข่าย (Collaborative Network Governance) ระดับดี ในผลงาน เครือข่ายป้องกันการฆ่าตัวตาย
-
เข็มครุฑทองคำและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่น จากศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
ทางออกที่ไร้รอยต่อของการป้องกันความรุนแรงจากผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด
ปัญหาความรุนแรงในสังคมมีมากขึ้น โดยผู้ก่อความรุนแรงส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุน้อย และเกี่ยวพันกับปัญหายาเสพติดมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบว่าปัญหาในผู้ก่อความรุนแรง ประมาณร้อยละ 20 มาจากปัญหาสารเสพติดและปัญหาสุขภาพจิต โรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสังคม ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัวและโรงเรียน ความไม่ปลอดภัยของสังคม ที่ผ่านมา หน่วยงานหลายภาคส่วนมีการดำเนินการในการป้องกันความรุนแรงจากปัญหายาเสพติดและจิตเวชที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การประเมิน คัดกรองปัญหายาเสพติดและสุขภาพจิตในผู้ใช้ยาเสพติด นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และติดตามต่อในชุมชน รวมทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านสุขภาพและสังคมให้กลับสู่ชุมชนได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญคือการดำเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการและไร้รอยต่อเพื่อป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วย ประกอบด้วย ภาคส่วนของหน่วยงานป้องกันปราบปรามยาเสพติด หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานสาธารณสุขและสุขภาพจิต หน่วยงานด้านกฎหมาย การประชุมสัมมนาในหัวข้อระหว่างหน่วยงานหลักเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนรู้การดำเนินงานภายใต้ทางออกสำหรับการป้องกันปัญหาความรุนแรงจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างไร้รอยต่อ ร่วมกันวิเคราะห์และสรุปข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกร่วมกันให้เกิดการดำเนินงานที่ดีขึ้นและยั่งยืน